เมนู

เจริญโพชฌงค์ 7 อย่างไร วิชชาและวิมุตติจึงจะบริบูรณ์



[291] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... ย่อม
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง
ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ อานาปานสติสูตรที่ 8

อรรถกถาอานาปานสติสูตร



อานาปานสติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเญหิ จ ความว่า พร้อมกับพระ
สาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียง แม้เหล่าอื่น ยกเว้นพระเถระ 10 รูปที่มาใน
พระบาลี. ว่ากันว่า ในคราวนั้น ได้มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ นับจำนวนไม่ได้.
บทว่า โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ ความว่า สงเคราะห์ด้วยการ
สงเคราะห์ 2 ประการ คือ สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรม แล้ว
โอวาทและพร่ำสอนด้วยการให้โอวาทและพร่ำสอนกรรมฐาน. อักษรในบท
ว่า เต จ นี้ เป็นเพียงอาคมสนธิ. บทว่า อุฬารํ ปุพฺเพนาปรํ วิเสสํ
สญฺชานนฺติ
ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษมีกสิณบริกรรมเป็นต้นอื่น ที่โอฬาร
กว่าคุณพิเศษเบื้องต้น มีความบริบูรณ์แห่งศีลเป็นต้น.
บทว่า อารทฺโธ เเปลว่า ยินดีแล้ว. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา
คือ เพื่อบรรลุพระอรหัตที่ยังไม่ได้บรรลุ แม้ใน 2 บทที่เหลือก็มีเนื้อความ
ดังกล่าวนี้เหมือนกัน ดิถีที่มีพระจันทร์เพ็ญครบ 4 เดือน ท้ายเดือน 12
ชื่อว่า โกมุที จาตุมาลินี. แท้จริงดิถีนั้น ชื่อว่า โกมุที เพราะมีดอก
โกมุทบาน. เรียกว่า จาตุมาสินี (ครบ 4 เดือน) เพราะเป็นวันสุดท้ายของ
เดือนอันมีในฤดูฝน 4 เดือน. บทว่า อาคเมสฺสามิ ความว่า เราจักคอย
อธิบายว่า เราปวารณาในวันนี้แล้วยังไม่ไป1 ที่ไหน จักอยู่ในที่นี้แหละจน
กว่าดิถีนั้น (คือวันเพ็ญเดือน 12) จะมาถึง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ปวารณาสงเคราะห์ (สงเคราะห์ด้วยปวารณากรรม) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย
ประการดังนี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
1. บาลีเป็น อาคนฺตฺวา ฉบับพม่า เป็น อคนฺตฺวา แปลตามคำหลัง.